Friday, 24 December 2010

เรียงความ: มหาวิทยาลัยกับประโยชน์ที่ได้รับ

หลายคนคิดว่าการที่เราจะสร้างสังคมหรือพัฒนาสังคมนั้นให้เราเป็นบัณฑิตก่อน หรือให้เรามีตำแหน่งทางสังคมมีหน้ามีตาในสังคมและต้องเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม  ในขณะเดียวกันหลายคนก็คิดว่าการเป็นนักศึกษานั้นเราต้องมานั่งเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย ต้องค้นคว้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ ต้องไปนั่งอ่านหนังสือที่ห้องสมุด โดยที่เราไม่ควรออกไปไหนเพื่อเรียนโลกภายนอก ผมมองว่าช่วงชีวิตของคนเราที่สำคัญมากที่สุดก็คือ ช่วงวัยเรียน เพราะเป็นเวลาที่แสนสนุกในการที่ค้นคว้าเรียนรู้ทั้งในและนอกรั้วสถาบันที่เรียกว่า โรงเรียนหรือมหาวัทยาลัย ดังนั้นอย่างที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น ผมไม่ได้จะบอกว่า การไปนั่งอ่านหนังสือที่สถานที่ที่เรียกกันว่า ห้องสมุด หรือเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ แต่ผมเล็งเห็นถึงการศึกษาโลกภายนอกมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย เพราะโลกภายนอกมีอะไรที่น่าเรียนรู้อะไรมากมาย อีกทั้งผมมองว่าเราในฐานะนักศึกษาที่ถูกเรียกว่า ปัญญาชน เป็นคนที่มีสติปัญญาที่พร้อมจะนำไปสู่การเกิดการพัฒนา ต้องทำอะไรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดีขึ้นทั้งตัวเองผู้อื่น หรือถ้าเรียกกันง่ายก็คือ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น อย่างเช่น การนำคุณธรรมจริยธรรมกลับสู่สังคมอีกครั้ง ทำให้ตัวเองและผู้อื่นมีมารยาทที่ดี หลังจากคำนี้ค่อนข้างที่เลือนลางไปทุกทีจากสังคมของเรา  หรือการนำความรู้ไปสู่การปัฎิบัติ เหล่านี้เป็นต้น สำหรับผมแล้ว ตลอดเกือบสี่ปีที่ผมได้มีโอกาส (ขอบคุณอัลลอฮ) ใช้ชีวิตในรั้วที่คนเรียกกันว่า มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุด ในบบรรดาสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยที่มีชื่อว่า มหาวิทยาลัยอิสลาม จากนั้นผมขอขอบทุกคนที่เกี่บวข้องที่ได้โอกาสทุกคนได้มีการศึกษาในพื้นที่แห่งนี้
ตลอดระยะเวลาผมได้ใช้ชีวิตในรั้วมหาวัทยาลัยก็ได้รับโอกาสไปทำกิจกรรมมากมายส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมนอกรั้วมหาวิทยาลัย ผมรู้สึกว่ามันเป็นเวลาที่ผมไม่อยากจะจากไปเลย เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ซึ่งผมคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ผมเริ่มได้รับโอกาสได้ทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
โดยส่วนตัวแล้วการที่ได้รับโอกาสไปช่วยเหลือสังคมนั้น หรือการที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่างๆเป็นสิ่งที่มีความสุข อย่างเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้จัดโครงการประกวดเรียงความและเผยแผ่สามภาษาคือ ภาษาไทย ภาษามาลายูและภาษาอังกฤษ  หัวข้อ เสียงสะท้อนจากแดนใต้ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ปรากฎว่าผมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสองของเรียงความภาษาอังกฤษ  ปี ๒๕๕๑ และ๒๕๕๒ ผมได้รับโอกาสไปเป็นครูอาสา ณ ภาคอีสานจังหวัดข่อนแก่นเป็นเวลาหนึ่งเดือน ในปีเดียวกันก็ได้รับโอกาสทำหน้าเป็นคณะกรรมองค์การบริหารนักศึกษา ปี ๕๒ และเป็นตัวแทนไปเข้าร่วมค่ายพหุวัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในเวลานั้นได้เรียนรู้อะไรมากมาย โดยเฉพาะในด้านการเป็นอยู่ในสังคมพหุวัฒธรรม ถึงแม้ในเวลานั้นผมรู้สึกเหนื่อยการที่จะต้องไปมาตลอดบ้างครั้งต้องล้มป่วยบ้าง แต่เนื่องจากทำไปแล้วมีความสุขก็เลยทำต่อ
ในปีเดียวกัน ทางมูลนิธิจีโอไอ (Goi foundation) ประเทศญี่ปุ่น อยู่ภายใต้ยูเนสโค สหประชาชาติซึ่งทำงานเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพ ได้จัดประกวดเรียงความภาษาอังกฤษ หัวข้อ How would you shape your city ผมได้เข้าร่วมประกวดดังกล่าวด้วย นอกจากผมได้รับโอกาสที่จะพัฒนาทักษะการเขียนแล้ว ผมได้รับประกาศณียบัตรที่แตกต่างจากทั่วไป ซึ่งประกาศณียบัตรมีขนานเล็กกว่ากระดาษ A4 ที่สำคัญ ถึงแม้ผมไม่ได้รับรางวัลอะไรในการประกวดในครั้งนี้ แต่อย่างน้อยผมเป็นคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการที่จะสร้างสันติภาพในโลกกลมๆใบนี้
ในปีที่ผ่านมาทางสาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้จัดประกวดกล่าวสุทรพัจน์ภาษาอังกฤษ ผมก็ได้เข้าร่วมประกวดด้วย ผลปรากฎว่าผมได้รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง และได้เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยไปแข่งขันกล่าวสุทรพัจน์ภาษาอังกฤษประดับประเทศ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทรน์ วิทยาเขตภูเก็ต จากเวทีนั้นได้เรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับทักษะการพูด โดยเฉพาะการพูดในที่สาธารณะ ยิ่งไปกว่านั้นผมและเพื่อนๆนักศึกษาอีก ๑๕ ท่าน ได้รับโอกาสเข้าประกวดโครงการ SIFE (Student In Free Enterprise) ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาไปร่วมพัฒนาชุมชนในนามของมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์สุบันโญ จีณรงณ์ เป็นที่ปรึกษา สำหรับทีมของมหาวิทยาลัยอิสลามอิสลามยะลาไปร่วมพัฒนา หมู่บ้านปราแว อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี และทีมนั้นได้รับโอกาสไปร่วมพัฒนาเป็นเวลาสองปีด้วยกัน คือปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ในการประกวดในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้รับรางวัล SIFE Spirit award สองปีซ้อน
ในปีเดียวกันคือ ๒๕๕๒ ผมขอขอบคุณอาจารย์สุรชัย ไวยวรรณจิตร มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ที่ให้โอกาสผมได้ไปสอนหนังสือ ณ โรงเรียนนูรูลอิสลาม อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี และให้โอกาสผมได้ไปติวน้องๆมัธยมกับท่านตามโรงเรียนต่างๆในช่วงวันหยุด ในระหว่างนั้นผมได้รับโอกาสจากทางโรงเรียนไปเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรูแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น พทธศักราช ๒๕๕๑ และที่สำคัญท่านให้โอกาสผมได้เข้าเป็นคณะกรรมการของคณะทำงานเสียงเล็กๆเพื่อสันติภาพด้วย ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเปิดโอกาสให้น้องๆได้สัมผัสกับแบบอย่างข้อสอบที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยทางคณะทำงานจะจัดโครงการลักษณะนี้ทุกปี
และที่น่ายินดีไปกว่า ผมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งในการประกวดเรียงความภาษาอังกฤษ จัดโดยทางศูนย์การศึกษาต่อประเทศนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย หรือ NZ study of Thailand ในหัวข้อ How much do you know about New Zealand พร้อมได้รับโอกาสไปเรียนภาษาอังกฤษ ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่สถาบันสอนภาษาในเมื่องออคแลนด์ (Unique New Zealand) ภายหลังกลับจากประเทศนิวซีแลนด์ ผมและเพื่อนๆนักศึกษาได้เข้าร่วมโครงการ “กล้าใหม้ใฝ่รู้” จัดโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จากโครงการดังกล่าวทีมมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้รับรางวัลชมเชย ซึ่งมีชื่อโครงการว่า “โรงปุ๋ยชีวภาพกับการพิทักษ์โลกร้อนสู่ความยั่งยืนหมู่บ้านปราแว” ในการนี้ผมได้ประสบการณ์มากมาย อาทิเช่น เรียนรู้การบริหารจัดการชุมชน เรียนรู้การบริหารจัดการทีมและการทำงานเป็นทีม เหล่านี้เป็นต้น
สุดท้ายผมขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องที่ได้เปิดโอกาสให้ผมและเพื่อนๆได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและท้าทายที่เป็นประโยชน์ อันนำไปสู่การเกิดการพัฒนาของตวเองและชุมชนที่ยั่งยืนอีกต่อไป และที่สำคัญผมขอบคุณอัลลอฮที่เลือกผมและเพื่อนๆเป็นผู้พัฒนาชุมชน ผมสัญญาว่าจะเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในทางที่ถูกต้องอันสามรถเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม อินซาอัลลอฮครับ

No comments:

Post a Comment