Wednesday 20 April 2011

opportunity

whatever goes up must go down...
wherever is difficulty wherever is opportunity...

Sunday 10 April 2011

บนความไม่สมบูรณ์แบบ

มนุษย์...ความรู้สึกนึกคิด...ความผิดพลาด... ...ซัยตอน
มนุษย์...ความรู้สึกนึกคิด...ความผิดพลาด......ซัยตอน
มนุษย์...ความรู้สึกนึกคิด...ความผิดพลาด......ซัยตอน

Wednesday 16 March 2011

Life

From now on, the stories in the fence of Yala Islamic University have been brought to an end, but the life of lerning should not be ended...May Allaah give all of the first-bunch graduates successes both in this world and hereafter.

การเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงที่ดีนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากจุดเล็กๆ (แต่สม่ำเสมอ)...สุดท้ายเราจะรู้ว่าคนที่มีอิทธิพลต่อโลกใบนี้จริงมีไม่กี่คน...คนที่หลับไหลนั้นเป็นคนที่ล้าหลังตามเหตุการณ์ไม่ทันไปทุกวัน (เป็นเหยื่อ)...สุดท้ายคนที่นั่งปรบมืออย่างมีความสุขต่อความตกต่ำของเรานั้นคือ...

ปัญญาชนมุสลิม

เรามีหน้าที่มากกว่าเวลาที่เรามีอยู่ ดังนั้นเราในฐานเป็นปัญญาชนมุสลิม (นักศึกษามอย.) ต้องไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไปกับสิ่งที่ไร้สาระไปวันๆครับ พี่น้องครับมาเถอะครับมาปรับปรุงตัวเรา มาพัฒนาตัวเราให้เป็นกำลังหลักในการที่จะพัฒนาสังคมมุสลิม สังคมเราไม่ได้รอคนอื่น นอกจากเรานี้แหละ...พี่น้องครับเราอย่าสร้างวัฒนธรรมที่ผิดๆโดยไม่มีการอ่านหนังสือเลย (อธิการของเราก็ตระหนักเรื่องนี้ครับ) มาเถอะครับมาสร้างบรรยากาศในการอ่าน ถ้าเราไม่อ่าน เราจะเป็นผู้รู้ได้อย่างไร คนที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลกนั้น เบื้องหลังในการใช้ชีวิตของเขานั้น ไม่ได้ห่างไกลจากหนังสือครับ (การอ่าน)...

Thursday 3 March 2011

Fascinating Taman Tamadun Islam (Terengganu)



In the distant past, when I was in my childhood I had never envisaged that Terengganu city was vibrant one. By the time I had a quick glance at leaflet pertaining to Terengganu tourism; it was not my fondest dream to pay a quick visit to the city. I just broadly conceived that it was a small and dull town where was not densely populated with a number of people. What’s more, I worked out that it was likened to somewhere countryside.
On my arrival to Terengganu, I sighted everything appeared to be contrary to my expectation. As at the first place I got a fleeting glimpse of the city; everything seemed to be slowly sat in motion. Additionally, everything was orderly and systematically organized and was kept fastidious, people were very nice, friendly and approachable – possibly to make me feel secure to go anywhere.
True to form, at sunrise and sunset, Medium-wide streets and narrow lanes were occupied with bikes and cares. Footpaths were filled with pedestrians. Now and again, I felt as I was in my hometown, Pattani.
People were fully clad in Malaysian-traditional dress – males were dressed in long trousers and suited shirts, and females had long-to-feet skirts and long sleeve shirt which is right to Islamic perspective and principle. Again, I felt like I was in Pattani.
After a pleasant greeting by the city’s serene vista, I was offered by choices of welcome tourist attraction places. As a result, I would give the impression towards the city’s surrounding that it was thriving and vivacious one. The numerous high-rising buildings stood steadily against breezy spot by the sea. The city was not large one where there were a few tourist destinations such as, shopping center and museum, but many nearby tourist places were very eye-catching and attractive such as, Taman Tamadun Islam (TTI) or Islamic Civilization Park, Crystal Mosque, Pasar Payand (Payand bazaar) and so on.
On the second day as I was in the city, my friends and I set to move around the city, the places nearby particularly. Our schedule was conducive to give high priority on TTI where there were world-wide duplicate mosques built to create a center of attention from people around the world especially Muslims.
As the bus was rolling in, the fence of the park gradually appeared which I could see at far sight. As the bus was approached to the park, it became clearer that it was embellished with stunning feature – colorful paintings. Actually, the park was designed resembling to mosques because there was a white building having a white dome. Likewise, the park was also aimed to bear a resemblance to “the borderland” because everybody had to stamp an entering passport.
At the same time as the bus parked at the parking, a feeling of excitement began to come to my mind as everybody hastily headed to the entrance of the park. I saw peoples pouring into the entrance, most of them were children. From the entrance, the duplicate mosques that I could see were Pattani, al-Aqsop, al-Haram duplicate mosques and so forth.
Subsequently, I was determined to stroll leisurely to Malaysian duplicate central mosque and sat foot in the mosque together with tuning in to video relating to the mosque. After that my friends and I were hurriedly quick to take photos of the mosque with intention of taking them as engraved memory.
After a while, I swept my gaze around the park, I witnessed that most conspicuous and highlights ones in the park were al-Haram and al-Aqso duplicate mosques. That was to say, while coming within reach of my eyesight, the al-Aqso mosque was very striking that I felt as if I was in Palestine. When entering the mosque, I observed that there was a big stone standing outstandingly at the center of it. From which my friends and I were very absorbed in taking photos as I, once, pretended to be praying while taking photos. Also as far as I observed, today everybody appeared to be happy and ready to be acting like anything while taking photos. It took several minutes to finish taking them until everybody were satisfied to leave.
Then, everybody intentionally headed to another splendid mosque that was al-Haram. Seeing at distance, it seemed a big duplicate mosque where we could go in and watched its inside feature, but as I came closer it looked there were nothing inside the mosque, where I could not even enter into it. What I could do was that I just walked around and photographed with my friends. I tried to lean myself against the wall and looked into the mosque, but I saw nothing except duplicate Kabbah. At the time taking photos, I did not enjoy myself a lot because there was raining. At last, we had to move to other duplicate mosques…
Having Travelled to Terengganu was very fascinating experiences that I could not find them in other places. It was very fortunate for me that I could come to know the real picture of Terengganu city. It was one of the most beautiful and attractive cities in Malaysia that I have gone – besides the beach, crystal mosque, there is another interesting place that I think everybody should go that is Taman Tamadun Islam (TTI) or Islamic Civilization Park. The park is telling the history of the very prominent mosques around the world. Furthermore, the park enables us to feel that we were visiting the real ones.  This is one of wonderful experiences in my life that I have ever visited abroad.

Friday 11 February 2011

มอย. วันนี้ กับการวางแผนชีวิต

ก่อนอื่นผมขออนุญาตที่จะเพิ่มเติมหัวข้อ ที่ทางคณะกรรมการองค์การบริหารนักศึกษา (มุสลิมะฮฺ) ได้ตั้งไว้ว่า มอยหรือมอย.วันนี้มาเป็น มอย.วันนี้กับการวางแผนชีวิตเพราะผมคิดว่า มหาวิทยาลัยอิสลามยะลานั้น เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับปัญญาชนมุสลิมอย่างเราที่จะใช้เป็นเวทีสำหรับการวางแผนชีวิตเพื่ออนาคตที่ดี (สำหรับตัวเราและสังคมแห่งนี้) ที่นี่เป็นเวทีที่เหมาะสมอย่างมากที่จะทำตัวเราให้บริสุทธิ์ เพื่อที่จะสร้างโอกาสให้แก่ตัวเราในการที่จะเป็นเทียนไขเล่มต่อไปที่สามารถนำแสงสว่างสู่สังคมได้ หรือพอทุกคนสำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้แล้วสามารถเป็นบัณฑิตที่รู้ว่า หน้าที่ต่อไปคืออะไร อีกทั้งสามารถเป็นบัณฑิตที่สามารถตอบอัลลอฮอย่างสบายใจว่าฉันทำหน้าที่สุดความสามารถแล้วค่ะ ผมทำหน้าที่สุดความสามารถแล้วครับนี้คือเหตุผลที่ผมอยากจะเรียนให้ทางคณะกรรมการองค์บริหารนักศึกษา (มุสลิมะฮฺ) ทราบ
ถ้าเรามองย้อนกลับไปเมื่อสิบหรือยี่สิบปีก่อน ทุกคนอาจมองว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับคนที่พูดว่าฉันจะก่อตั้งสถาบันความรู้ที่ใหญ่ที่สุด นั่นก็คือมหาวิทยาลัย”  หรือผมจะสร้างมหาวิทยาลัยที่มีชื่อว่า อิสลามในพื้นที่ที่ถูกมองว่า การศึกษาอยู่ในระดับท้ายๆของประเทศไทย อย่าง จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส หรือเป็นที่รู้จักในนาม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นเอง ถึงแม้คนนั้นจะรวยล้นฟ้าหรือมีเงินมากแค่ไหน ผมเชื่อเหลือเกินครับว่า การที่จะก่อตั้งสถาบันแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสถาบันการศึกษาต่างๆนั้น เป็นเรื่องไม่ใช่ง่ายครับ หรือถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ในอดีตประชาชาติมุสลิมในพื้นที่แห่งนี้ไม่เคยที่จะได้สัมผัสสถาบันที่มีชื่อว่ามหาวิทยาลัยอิสลาม”…
ยี่สิบปีผ่านไป ใครจะไปเชื่อครับว่า มีผู้รู้กลุ่มหนึ่งสามารถที่จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้ได้ สามารถที่จะทำสิ่งที่ทุกคนไม่กล้าแม้กระทั่งที่จะฝันหรือคิด เพราะว่าเป็นความฝันที่เรียกว่า ห่างไกลเหลือเกินสำหรับคนในสามจังหวัดที่จะเอื้อมถึง คนกลุ่มนี้สามารถที่จะสร้างและเติมเต็มความฝันของคนอีกหลายๆคน คนกลุ่มนี้สามารถที่จะทำให้สังคมแห่งนี้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมที่มีความรู้ที่ถูกต้อง พวกเขาสามารถจุดเทียนไขที่กำลังจะดับในไม่กี่วันข้างหน้า ให้เปล่งประกายและสามารถส่องแสงให้แก่ประชาชาติที่นี่อีกครั้ง คนกลุ่มนี้สามารถที่สร้างมหาวิทยาลัย (เอกชน) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่ไม่มีนายทุนที่มีแหล่งทุนมหาศาล และยิ่งไปกว่านั้น คนกลุ่มนี้สามารถที่จะสร้างมหาวิทยาลัยที่มีชื่อว่า อิสลามซึ่งเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการ (หรือ Islamization; เป็นหลักสูตรที่สอนควบคู่อัลกรุอานและวิถีชีวิตของท่านนบี หรืออัลซุนนะห์)
นี่คือบทบาทที่คนกลุ่มหนึ่งมีต่อสังคมแห่งนี้ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นพร้อมที่จะสืบทอดบทบาทเหล่านี้ให้แก่ชนรุ่นหลัง ส่วนหน้าที่ของชนรุ่นหลังที่จะต้องทำก็คือ จะทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งนี้สามารถที่จะยืนหยัดอยู่ควบคู่และพร้อมที่จะรับใช้สังคมให้ได้นานที่สุด (เท่าที่อัลลอฮทรงประสงค์) (รับใช้สังคม ในที่นี่หมายความว่า มหาวิทยาลัยสามารถที่จะผลิตบัณฑิตอันพึงประสงค์ ที่สามารถนำแสงสว่างสู่สังคมต่อไป)
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สามารถยืนอยู่ท่ามกลางสังคมแห่งนี้ได้อย่างสง่างามตระการตา ผู้คนส่วนใหญ่เล็งเห็นถึงจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัย พวกเขาอยากที่จะส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาต่อที่นี่ เพราะว่านี่คือมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งแรกของประเทศไทย  ที่เปิดการเรียนการสอนในรูปแบบบูรณาการ และประสงค์ให้บันฑิตที่สำเร็จการศึกษามีคุณธรรมและจริยธรรมจริงๆ ไม่ใช่แค่คำพูดหรือคำเขียน(ข้อความ)อยู่ในกระดาษเท่านั้น 
ดังนั้น เราในฐานะนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้ ถ้าหากเราไม่มีความสามารถมากพอที่จะสืบทอดหน้าที่เหล่านั้น ที่จะนำพามหาวิทยาลัยแห่งนี้ก้าวสู่ทศวรรษใหม่แห่งการศึกษาแบบอิสลามในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างน้อยขอให้เรามีความตั้งใจที่ใช้เวทีแห่งนี้เป็นเวทีแห่งการวางแผนชีวิตของเรา มีความตั้งใจที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นได้รับการวางแผน ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นโดยความบังเอิญโดยที่เราไม่ตั้งใจมาก่อนเลย จากที่เราไม่เคยแม้กระทั่งคิดที่จะวางแผน ให้ชีวิตของเราเป็นระบบที่สามารถนำประโยชน์แก่ตัวเรา ครอบครัวและสังคม (อิสลาม) พร้อมๆกัน  พี่น้องครับ มาเถอะครับ มาทำให้ชีวิตของเรา และเวลาทุกๆวินาทีของเราให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เพราะตลอดระยะเวลาอย่างน้อยสี่ปีที่เราอยู่ที่นี่เป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นเองครับ (ไม่เชื่อก็ลองถามบังๆหรือกะๆที่อยู่ปีสี่ว่า สี่ปีเป็นเวลายาวนานหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม สำหรับน้องๆที่อยู่ปีหนึ่งแน่นอนครับ ผมเชื่อเหลือเกินครับว่า จะรู้สึกนาน แต่ถ้าถามบังๆกะๆที่อยู่ปีสี่ ผมมั่นใจที่จะพูดว่า พวกเขาจะตอบว่า สี่ปีไม่นานหรอก อยากจะทำอะไรมากกว่านี้)
วันนี้ ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าเป็นวันที่ทุกคนต่างก็มีเป้าหมายเดียว มีความตั้งใจเดียวกัน มีเจตนารมณ์เดียวกัน นั่นก็คือ ทุกคนต่างก็มีความตั้งใจที่จะมีแผนการหรือแผนที่ที่จะเดินบนเส้นทางการศึกษาในครั้งนี้ให้รอบคอบที่สุด เป็นแผนที่ที่จะทำให้พวกเราประหยัดเวลาที่จะไปถึงจุดมุ่งหมายได้อย่างรวดเร็ว... แต่ผมมองว่าถ้าทุกคนมีความตั้งใจมากขนาดนี้ ควรที่จะต้องรู้ถึง อะไรคือความหมายของชีวิตและอะไรคือการวางแผน
แน่นอนครับถ้าผมถามว่าอะไรคือความหมายของชีวิตแน่นอนทุกคนต้องมีนิยามของตัวเองแตกต่างกันไป...บางคนอาจให้ความหมายของชีวิตในด้านการปฎิบัติภาระกิจหน้าที่... บางคนจะให้นิยามของชีวิตไปในด้านการดำรงชีวิต เหล่านี้เป็นต้น แน่นอนครับการให้คำนิยามในรูปแบนั้นมันไม่ผิด แต่ส่วนตัวผมแล้ว ผมจะให้นิยามของคำว่า ชีวิตคือการ ดิ้นรน”  ดิ้นรนเพื่ออะไรครับ เพื่อที่จะค้นหาเป้าหมาย ถ้าเรารู้เป้าหมายของชีวิต เราจะมีความง่ายดายที่จะวางแผนเพื่อที่จะไปสู่เป้าหมาย ที่นี้พอเรารู้อะไรคือความหมายของชีวิตแล้ว เราต้องรู้เป้าหมายของการวางแผนด้วย ผมขอให้ความหมายของการวางแผน ก็คือดังนี้ 1. เพื่อที่จะทำให้เราไปถึงจุดหมายปลายทางโดยใช้เวลาน้อยที่สุด 2. เพื่อที่จะทำให้เราสูญเสียพละกำลังน้อยที่สุด 3. เพื่อที่จะเตือนสติของเราอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังปฎิบัติภาระกิจอยู่ เหล่านี้เป็นต้น 
การที่เราจะวางแผน เราต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะถ้าเราไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ถามว่าเราจะวางแผนทำไมครับ เช่นเดียวกับการใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ ทุกศาสานาสอนให้ทุกคนมีเป้าหมาย นั้นก็คือ สวรรค์แต่ถามว่าวิถีชีวิตแบบไหนที่เที่ยงตรง ที่สามารถนำพาเราไปถึงสวรรค์ได้ (คำตอบนี้แน่นอนครับว่า วิถีที่มีชื่อว่า อิสลาม”)
การใช้ชีวิตในสถานศึกษา บางคนอาจคิดว่า ตลอดระยะเวลาสี่ปีนั้น ฉันจะเรียนให้เต็มที่ ฉันจะไม่สนใจเรื่องกิจกรรมเลย เพราะฉันคิดว่ากิจกรรมไม่ให้ความรู้อะไรเลย นอกจากเสียเวลาแล้ว มันทำให้ฉันเสียการเรียนอีกด้วย บางก็คิดว่า ฉันจะร่วมและจัดกิจกรรมให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะกิจกรรมสามารถสร้างคนให้เป็นคนได้ กิจกรรมสามารถที่จะสอนให้ฉันใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีจุดยืน หรือบางคนคิดว่าฉันจะเอาทั้งสอง ฉันจะเรียนกับทำกิจกรรมในเวลาเดียวกัน
โดยส่วนตัวแล้ว ผมแบ่งเทอมของการศึกษาออกเป็นสองส่วน ช่วงแรก (ปี 1และ ปี 2) ช่วงที่สอง (ปี และ ปี 4) โดยที่ช่วงแรก ปี 1 กับ ปี 2 เทอมหนึ่ง ผมจะเน้นเรื่องการเรียน จะให้ความสนใจในการอ่านหนังสือทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา การเมือง และเรื่องทั่วไป เพราะผมคิดว่าในช่วงนี้น้ำในแก้วของเรานั้นยังต้องการการเติมอีกเยอะ ในช่วงนี้เราไม่สามารถที่แบ่งปันน้ำในแก้วให้คนอื่นได้ เพราะถ้าเราแบ่งให้คนอื่นเราอาจจะขาดแคลนน้ำได้ เราควรที่จะกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ (ไม่ต้องให้มันเต็ม) เพื่อที่จะทำให้เรามีสติปัญญาที่ดีที่สามารถคิดในทุกๆแง่มุมได้ ส่วนช่วงที่สอง ปี 2 เทอมสองกับ ปี 3 ถึงเวลาที่เราควรแบ่งปันน้ำ (ที่สะอาด) ที่เกือบเต็มให้คนอื่น เราควรที่จะพาแก้วใบนี้ไปทุกที่เท่าที่เราสามารถ ในช่วงนี้เราควรที่จะดูว่าคนแบบไหนที่เราควรให้ คนแบบไหนที่ขาดแคลนน้ำจริงๆ เหตุผลก็คือ เราจะเป็นหมอที่เข้าหาคนไข้ ที่รักษาคนไข้อย่างทุกต้อง ไม่ใช่เป็นหมอที่หนีออกห่างจากคนไข้ อย่างที่เห็นปัจจุบัน 
พอ ปี 4 ช่วงที่สองนั้น เราควรที่จะคิดใตร่ตรองอีกครั้งว่า น้ำในแก้วใบเล็กๆใบนี้ มีปริมาณน้ำมากพอหรือยัง เพื่อที่จะออกสู่สนามของการแจกจ่ายอันยาวไกล ที่นั้นจะไม่มีสถานที่สำหรับเติมน้ำ ที่สำคัญเราควรที่จะมีการวางแผนให้ดีว่า เราจะแจกจ่ายน้ำที่มีอยู่ในแก้วอย่างไรให้ทั่วถึง ในช่วงนี้เราจะมีเวลาไม่มากในการคิดใตร่ตรอง เราควรที่จะใช้เวลาในช่วงนี้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด
นี้คือสภาพการณ์ในช่วงที่เราใช้ชีวิตในรั้วสถาบันที่มีชื่อว่า มหาวิทยาลัย (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยแห่งความหวังของสังคม อย่างมหาวิทยาลัยอิสลาม) แต่แผนการที่ผมได้กล่าวข้างต้นนั้น เป็นความคิดส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งแน่นอนครับว่า ทุกคนมีการวางแผนที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละคน
ในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ผมแปลกใจเหลือเกินนะครับว่า ทำไมทุกคนต่างมองคนคนหนึ่งในมิติของ ความเก่งพอเขาเรียนได้เกรดดีๆ เขาจะได้รับการขนานนาม เป็นคนเก่งทำไมทุกคนไม่มองในมิติของหน้าที่” (อมานะฮฺ) ครับ ในมิติของอมานะฮฺที่ได้รับมอบหมาย ถ้าเรามองในมิตินี้ เราต่างก็มีสมาธิและเวลาในการที่จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ถึงจุดที่เรียกว่า ดีที่สุด”  เนื่องจากว่าทุกคนมีหน้าที่ที่แตกต่างและมีความถนัดที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผมคิดว่า ถ้าเราคิดอย่างนี้ เราต่างมีโอกาสที่จะเป็นคนเก่งได้ พอทุกคนเป็นคนเก่ง ทุกคนต่างก็สามารถเป็นที่หนึ่งได้โดยที่ไม่ต้องไปแข่งขันกับคนอื่น นอกจากนี้ถ้าทุกคนคิดในมิตินี้เราต่างก็มีเวลาที่จะคิดถึงสถานที่ที่ทุกคนมุ่งหน้า นั่นก็คือ อาคีเราะฮฺ” 
ถ้าหากการมาของเราที่นี่เป็นความตั้งใจที่จะมองหาคนที่สมบูรณ์แบบทุกอย่าง ผมบอกได้ว่าไม่มีครับ (ไม่มีมนุษย์คนไหนสมบูรณ์แบบสักทุกอย่าง นอกจากท่านนบีของเรา)  ผมเชื่อครับว่า การที่ทุกคนมาที่นี่ ทุกคนต่างก็มีความตั้งใจที่จะมาเพื่อขัดเกลาตัวเอง ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดสำหรับเราในฐานะนักศึกษาก็คือ เรามาร่วมสร้างบรรยากาศของการตักเตือนซึ่งกันและกันเถอะครับ โดยการเรียนรู้ผ่านระบบอาลาเกาะฮ์ (ผมกล้าที่จะพูดว่า ไม่มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่บรรจุอาลากอฮ์ในหลักสูตร นี้คือจุดเด่นที่แตกต่างที่เรามี) เพื่อที่จะสร้างกลุ่มชนที่มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม สู่การเกิดขึ้นของความเป็นปึกแผ่นของประชาชาติต่อไป
 เวลานี้เรากำลังเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่ตัวเรา เรากำลังเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่ประชาชาติที่นี่แล้ว เบื้องหลังของความสำเร็จทั้งหลายคือความทุ่มเทของเราทุกคน นับจากนี้เราต่างยืนอยู่ที่จุดหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดที่มีเกรียติที่สุดในทศวรรษ เราต่างยืนอยู่  จุดนี้เพื่อที่จะก้าวไปที่จุดที่สองของทศวรรษแห่งการศึกษา เราในฐานะปัญญาชนมุสลิม นับจากนี้ไปเรากำลังก้าวไปสู่การเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของเรา เป็นประวัติศาสตร์ที่เราจะเขียนขึ้นด้วยมือของเรา เป็นประวัติศาสตร์ที่จะลบคำสบประมาทต่างๆ 
ในเมื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีสาขาวิชาที่จำเป็นต่อจิตวิญญาณของสังคมแห่งนี้แล้ว ถามว่า เรา (นักศึกษา) พร้อมมากน้อยแค่ไหนที่จะออกสู่โลกภายนอก  เราพร้อมมากน้อยแค่ไหนที่จะเผชิญกับทุกสิ่งทุกอย่างในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับโลกจำลองในรั้วมหาวิทยาลัย นับจากนี้ไปเราต่างก็จะเป็นสินค้าใหม่ที่ถูกผลิตออกมา เพื่อรับใช้และซ่อมแซมโครงสร้างที่สึกหรอของสังคมต่อไป โดยผ่านกระบวนการต่างๆอย่างละเอียด โดยเฉพาะในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะรวมเป็นประชาเศรษฐกิจอาเซียนพอถึงเวลานั้นจะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมของเรา? เราสามารถที่ฉวยจะโอกาสนี้ในการเผยแผ่อิสลามมากน้อยเพียงใด?...
 สำหรับการเพิ่งเกิดของมหาวิทยาลัยอิสลาม ผมควรเรียกความสำเร็จหรือความล้มเหลวความ(ล่าช้า)ของประชาชาติที่นี่ดี เพราะว่าถ้าเราเทียบกับการเข้ามาของอิสลามในสามจังหวัดเป็นเวลาร้อยๆปีที่แล้ว แต่เราแค่มีสถาบันศาสนาที่เราภูมิใจเหลือเกินเป็นร้อยๆแห่งเท่านั้น ประชาชาติที่นี่ไม่เคยได้สัมผัสมหาวิทยาลัยเลยอย่างไรก็ดี ที่แน่ๆ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยอิสลามในครั้งนี้ เปรียบเสมือน แสงสว่างปลายอุโมงค์ของประชาชาติ เพื่อใช้ในการก้าวเดินไปสู่ทศวรรษใหม่ของความเจริญทางการศึกษาอีกครั้งอย่างในอดีต (อัลฮัมดุลิลลาฮฺ)
ด้วยเหตุนี้ ผมขอเชิญชวนตัวผม เพื่อนๆนักศึกษา รวมถึงบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง มาเถอะครับมาร่วมกันสร้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยผ่านการทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด มาร่วมใช้เวทีแห่งนี้ให้เป็นโอกาาสำหรับเราในการที่จะวางแผนชีวิตของเรา วางแผนอนาคตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และวางแผนชีวิตของประชาชาติมุสลิมที่นี่ เพื่อว่าเราจะได้สืบทอดหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่นี้จากคนกลุ่มหนึ่งที่ได้เขียนประวัติศาสตร์หน้าแรก และเราจะได้เขียนประวัติศาสตร์ให้อิสลามหน้าที่สองและต่อไป พร้อมๆกัน อินชาอัลลอฮฺ 
ถึงแม้หลายครั้ง เรารู้สึกท้อแท้กับสิ่งที่ท้าทายและรู้สึกหมดกำลังใจเมื่อประสบปัญหาต่างๆ แต่เราจะบอกให้รู้ว่า เราภูมิใจและดีใจที่ได้อยู่ ที่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับเธอนะ มอย. เพราะมีเธอวันนี้ เราได้มีโอกาสทำความรู้จักกับคนอีกหลายๆคน เพราะมีเธอวันนี้ เราได้สัมผัสกับความสุขที่แท้จริงของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องร่วมซาฮาดะฮ์  เพราะมีเธอวันนี้ เราได้ลิ้มรสถึงความขมของอุปสรรคต่างๆที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา เพราะมีเธอวันนี้ เราได้ละหมาดห้าเวลาพร้อมๆกันที่มัสยิด (สำหรับมุสลิมีน) เพราะมีเธอวันนี้ เราได้สัมผัสบรรยากาศตอนเช้าๆที่มีหมอกเป็นเครื่องประดับ เพราะมีเธอวันนี้ เราได้เติมเต็มภาระกิจของเรา เพราะมีเธอวันนี้ อุปสรรคสามารถหล่อหลอมเราให้เป็นคนที่เข้มแข็ง เพราะมีเธอวันนี้ เราได้ออกกำลังกายพร้อมๆกัน เพราะมีเธอวันนี้ เราได้เรียนรู้ถึงมิตรภาพของการอยู่ร่วมกัน เพราะมีเธอวันนี้ เราได้รู้ถึงความเหงาเมื่อต้องอยู่คนเดียว เพราะมีเธอวันนี้ เราได้รู้ถึงศักยภาพของเรา เพราะมีเธอวันนี้ เราได้รู้ว่าเมื่อเราจับมือเดินพร้อมๆแล้วกันเราจะเข้มแข็ง แต่เมื่อเราเดินปล่อยมือเราจะอ่อนแอทันที
ต่อไปนี้เราจะเป็นอดีตสำหรับเธอ ส่วนเธอก็คงจะเหงาที่ไม่มีเราอยู่เคียงข้าง ออ! ไม่เป็นไร เราเกิดมาเพื่อรับใช้ศาสนาของพระองค์อัลลอฮฺ ไม่เป็นไร เดียวเธอก็คงมีเพื่อนใหม่มาแทนที่เรา เธอสัญญาไหมครับว่า เธอจะทำหน้าที่ของเธอให้ดีที่สุด เธอต้องดูแลเพื่อนใหม่ให้ดีเหมือนกับเธอดูแลเรา ส่วนเรา เราสัญญาว่า เราจะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เราจะสร้างการศึกษาที่ควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมแห่งนี้ให้ได้อย่างที่เธอตั้งใจ  เราสัญญาเราจะไม่ลืมเธอ เราจะจดจำบรรยากาศของวันวานตลอดไปลาก่อนนะ แล้วค่อยเจอกันใหม่ อินชาอัลลอฮฺ